วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

การเลี้ยงหมู ( หลุม )

ใน ปัจจุบันการเลี้ยงหมูบ้าน มีทั้งน้ำเสีย และขี้หมูทีส่งกลิ่นเหม็นกระจายไปทั่ว ส่งผลกระทบทำให้สิ่งแวดล้อมเลวลง เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็ทนกลิ่นเหม็นไม่ไหวทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันอยู่ ตลอด ซึ่งแต่เดิมเรานิยมเลี้ยงหมูไว้ประมาณ 1-2 ตัว เพื่อเอาไว้กินเศษอาหารที่เหลือจากครัวเรือน แล้วหาผักหญ้า ต้นกล้วย บอน มะละกอ เอามาเสริมทำให้ต้นทุนการผลิตไม่สูงเกินไป เป็นการเลี้ยงหมูแบบเก็บออมเงิน เป็นหมูออมสิน แต่ต่อมาวิวัฒนาการด้านอาหารสัตว์ ก้าวหน้าเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เช่นสามารถให้อาหารสำเร็จแก่ลูกหมูหย่านม เลี้ยงด้วยอาหาร 4-5 เดือน ก็สามารถทำน้ำหนักตัวได้ถึง 100 กก. แต่เมื่อคิดดูค่าอาหาร การจัดการและเทคโนโลยี แล้วเปรียบเทียบกับราคาขายในท้องตลาด ปรากฏว่า “ ขาดทุน ” ดังคำกล่าวที่ว่า “เลี้ยงหมูให้เจ๊ก” ทุนหาย กำไรหด หลายคนเลิกเลี้ยงกันแล้วหันไปประกอบอาชีพอื่นแทน
จากข้อความดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า “ ทำไมเราไม่กลับไปเลี้ยงหมูแบบเดิม หรือการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติหละ ” แต่ก็มีเสียงบอกมาว่า “ มันใช้เวลานานและพวกต้นกล้วย บอน มะละกอ หรือพืชผักต่างๆ ที่เป็นอาหารให้หมูก็ไม่ค่อยมี ขี้หมูก็มีกลิ่นเหม็นโชยไปทั่ว ทำให้ไม่อยากเลี้ยง ” แต่จากการศึกษาพบว่าการเลี้ยงหมูแบบเกษตรธรรมชาติ (หมูหลุม) นอกจากจะให้กำไรงามแก่ผู้เลี้ยง เนื่องจากสามารถลดต้นทุนอาหารได้ถึง 70 % แล้วยังทำให้ภารกิจการเลี้ยงหมูของเกษตรกรเบาแรงลง ไม่ต้องกวาดพื้นคอกกำจัดขี้หมู ไม่มีกลิ่นขี้หมู ไม่เฉอะแฉะ และไม่มีแมลงวันตอม จนสามารถห่อข้าวไปกินในพื้นคอกหมูได้โดยไม่น่ารังเกียจอีกทั้งดินและขี้หมู ก็สามารถนำไปทำปุ๋ยขายได้อีก เขาทำกันอย่างไร...ไปดูกัน
โรงเรือน
ขนาด ของคอก กว้าง 3.6 เมตร x ยาว 8.1 เมตร ( ประมาณ 30 ตารางเมตร ) สำหรับเลี้ยงหมูได้ 25 ตัว (หมู 1 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 1.2 ตารางเมตร) สำหรับขนาดของคอกสามารถยืดหยุ่นได้ตามพื้นที่ ลักษณะของคอกต้องมีลักษณะโปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ควรให้อากาศภายนอกเข้าไปในโรงเรือนมาก แล้วระบายออกไปทางด้านบน
พื้นคอก
1. ขุดดินออกให้บุกบงไปประมาณ 90 ซม. แล้วผสมวัสดุเหล่านี้ใส่แทนที่ ให้เต็ม เหมือนเดิมที่ขุดออกไป ได้แก่
1.1 ขี้เลื่อย หรือ แกลบหยาบ 100 ส่วน
1.2 ดินที่ขุดออก 10 ส่วน
1.3 เกลือ 0.3-0.5 ส่วน
เมื่อผสมแกลบ ดิน และเกลือแล้ว ให้ใช้จุลินทรีย์จากน้ำหมักพืช และจุลินทรีย์จากการ หมักนม ราดลงพื้นชั้นที่ 1 เมื่อความลึก 30 ซม. โรยดินชีวภาพเชื้อราขาวบาง ๆ และรดน้ำพอชุ่มแล้วทำเหมือนกันทุกชั้น ต่อไปโรยแกลบดิบปิดหน้าหนึ่งฝามือ แล้วปล่อยหมูลงไปได้เลย เมื่อปล่อยหมูลงไปได้สักพักแล้วก็ใช้

จุลินทรีย์ 2 ช้อน ต่อ น้ำ 10 ลิตร พ่นลงพื้นคอกเป็นครั้งคราว เมื่อหมูขับถ่าย จุลินทรีย์นี้เองก็จะเป็นตัวย่อยสลายสิ่งปฏิกูลทั้งหลายลงดินไป เมื่อเลี้ยงหมูไปได้เท่านั้น แล้วก็ผสมพื้นคอกใหม่ใส่เข้าไปแทนที่เรานำไปทำปุ๋ย
พื้นคอกไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดไม่ต้องกวาด หมูจะขุดคุ้ย และมีความสุขอยู่กับการกินจุลินทรีย์ ในบรรยากาศที่สบายด้วยระบบถ่ายเทอากาศที่เป็นธรรมชาติ
การเลี้ยงดู
1. รางน้ำ และรางอาหาร ควรตั้งไว้คนละด้าน เพื่อให้หมูเดินไปมาเป็นการออกกำลังกายการให้อาหารให้เพียงวันละครั้ง
2. ให้พืชสีเขียว 1 ใน 3 ของอาหารที่ให้ เช่น หญ้าสด ต้นกล้วย มะละกอ มันเทศ หรือ วัชพืชที่หมูชอบ
3. อาหารจากตลาดใช้เพียง 30 ส่วน
4. เชื้อราขาวใบไผ่ + ดิน + รำข้าว คลุกผสมไว้ 4-5 วัน เอาอาหารจากตลาดผสมอย่างละครึ่งหมักรวมกันก่อน 24 ชั่วโมง แล้วจึงนำไปให้หมูกิน หากมีความสามารถหาหอยเชอรี่ นำมาบดผสมลงไปก็จะลดต้นทุนมาก ไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารจากตลาด ส่วนพืชสีเขียวนำมาสับให้กินเป็นอาหารเสริม
5. น้ำดื่ม การผสมน้ำดื่มสำหรับหมู จะใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ ผสมกันดังนี้
5.1 หัวเชื้อจุลินทรีย์ผัก หรือผลไม้ 2 ช้อน
5.2 น้ำฮอร์โมนสมุนไพร 1 ช้อน ( เหล้าดองยา )
5.3 นมเปรี้ยว 3 ช้อน
5.4 น้ำสะอาด 10 ลิตร
ผสมให้ดื่มเป็นประจำ หากพื้นคอกแน่น หรือแข็ง ก็ใช้น้ำหมักดังกล่าวพ่น หรือราดจะทำให้พื้นคอกมีกลิ่นหอมจูงใจให้หมูขุดคุ้ย และยังทำให้พื้นคอกร่วนโปร่ง มีอากาศถ่ายเท และ เกิดจุลินทรีย์มากมาย

วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์ของเศรษฐกิจพอเพียง

welcome10.gif

ประโยชน์

1. ให้ประชาชนพออยู่พอกินสมควรแก่อัตภาพในระดับที่ประหยัด ไม่อดอยากและเลี้ยงตนเอง
ได้ตามหลักปรัชญาของ “เศรษฐกิจพอเพียง”
2. ในหน้าแล้งมีน้ําน้อย ก็สามารถเอาน้ําที่เก็บไว้ในสระมาปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ใช้น้ำน้อยได้
โดยไม่ต้องเบียดเบียนชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ําดีตลอดปีทฤษฎีใหม่น้ําก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ํารวยขึ้นได้
4. ในกรณีที่เกิดอุทกภัยก็สามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตนเองได้ในระดับหนึ่ง โดยทางราชการ
ไม่ต้องช่วยเหลือมากเกินไป อันเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามกระแสพระราชดำรัช

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๔๙) ได้ออัญเชิญปรชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นปรัชญาในการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักทางสายกลาง คือ คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนทุกระดับนำหลักปรัชญาฯ ไปเป็นพื้นฐานและแนวางในการดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อันจะนำไปสู้การพัฒนาที่สมดุลและยังยืน ของประเทศชาติ

สรุปการไปศึกษานอกโรงเรียน(Field Trip)

สรุปการไปศึกษานอกโรงเรียน(Field Trip)

วัน เสาร์ ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑ ตอนเช้้ารถได้ออกเดินทางไปถึงศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ ต.แม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เมื่อถึงศูนย์ฯก็เอากระเป๋าไปไว้ที่เต็นท์แล้วไปนั่งเปิดงานที่อาคารอเนกประสงค์เปิดงานเสร็จก็ร่วมกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน จากนั้นก็ไปฝึกความมีระเบียบวินัย เช่น ขวาหัน ซ้ายหัน กลับหลังหัน และก็ฝึกเดิน ฝึกเสร็จก็ไปกินข้าวก่อนกินข้าวก็ต้องพูดคำปฏิญาณตนแล้วก็ต้องขอบคุณก่อนกินเสร็จก็เอากระเป๋าไปเก็บไว้ที่ห้อง ผมก็ได้นอนกับคุณครูณภัทร คุณครูวรวิทย์ นายสาโรจน์ และนายปฏิภัทร เวลาบ่ายโมงกว่า ก็ไปที่อาคารนิทรรศการศูนย์พัฒนาเศษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ก็ไปชมดูวิดีทัศน์ก็จะมีประวัติความเป็นมาของศูนย์และละครสั้นเกี่ยวกับเศนษฐกิจพอเพียง ดูเสร็จก็ไปดูนิทรรศการเกี่ยวกับปรัชญาและทฤฎีใหม่ของเศรษฐกิจพอเพียงจากนั้นก็ไปดูการเพาะเห็ดถุง และที่ไปดูอย่างสุดท้ายคือการหมักปุ๋ยดูเสร็จ ตอนเย็นพวกผมก้ได้ไปเ่ลนบอลกับพี่ทหารพอสักพักก็ไไปกินข้าวแล้วไปแาบน้ำ เวลา ๑๗.๓๐น.ก็ไปร่วมกิจกรรมกับวิทยากรและพวกพี่ทหารอย่างสนุกสนาน พอถึงเวลาสองทุ่มกว่าก็ไปนอนหลับ
ตื่นเช้ามาก็ได้ไปวิ่งออกกำลังกาย วิทยากรก็มอบหน้าที่ให้แถวผมไปล้างห้องน้ำล้างเสร็จก็กินข้าว จากนั้นก็ไปรอที่อาคารอเนกประสงค์เพื่อไปเรียนฐานต่อไปคือฐานงานศิลปาชีพก็จะมีอยู่สองอย่างคือ งานปั้นและการทำระดาษสา จากนั้นก็ไปฐานสุดท้ายคือฐานนาข้าวก็ได้ไปไถนาเเล้วก็ไปปลูกข้าวจากนั้นก็ไปกินข้าว พอบ่ายโมงกว่าก็มีกิจกรรมฐานวัดใจ เวลาสามโมงกว่าก็ปิดงานและขอบคุณพี่วิทยากรและพี่ทหารที่มาให้ความรู้ความสนุกสนานแก่นักเรียนทุกคนแล้วก็กลับบ้าน

ความหมาย ของ เศรษฐกิจพอเพียง

ความหมาย ของ เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาหนึ่งที่พระบาทสเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัชชี้แนะ แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอกจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจ และการกระทำ

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ